วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้ | |
1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
| |
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
| |
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
| |
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
| |
5และสื่อสาร
| |
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
| |
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
| |
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
| |
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
| |
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
|
ระดับของสารสนเทศ
ระดับของสารสนเทศ
1. ระดับบุคคล
ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
สารสนเทศระดับบุคคล
2. ระดับกลุ่ม
ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
สารสนเทศระดับกลุ่ม
3. ระดับองค์กร
ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้
หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน
สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ (Information management)
— รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล 2010/07/21 21:00
การจัดการสารสนเทศ (Information management) คือ การวางแผน จัดหา รวบรวม จัดเก็บ รักษา และส่งต่อแพร่กระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กร สร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการสารสนเทศ เป็นการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปแล้วแต่ประเภทและขนาดขององค์กร ไม่ได้มีลักษณะเป็น “One size fits all” อาจเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่จัดเก็บและบริการสารสนเทศโดยตรง เช่น ห้องสมุด หรือองค์กรที่ใช้สารสนเทศในการดำเนินธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือระดับประเทศก็ได้ ปัจจุบันมีธุรกิจรับจ้างจัดการสารสนเทศสำหรับองค์กรภาคธุรกิจเกิดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการสารสนเทศภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตสารสนเทศที่ถูกต้อง มีคุณภาพ ทันสมัย และเชื่อถือได้ มีการใช้เมทาดาทาที่ถูกต้อง จัดทำฐานข้อมูลและจัดทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) โดยดึงข้อมูลแต่ละกลุ่มที่กำหนดไว้ในแผนที่สารสนเทศ (Information Map) ขึ้นมาใช้เมื่อต้องการ กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ กำหนดว่าใครมีสิทธิเข้าถึงได้ ใครที่ไม่มีสิทธิเข้าถึง การจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศ การกำจัดสารสนเทศที่ไม่ใช้แล้ว หรือไม่มีประโยชน์ การจัดการระเบียนเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น เอกสารทางกฎหมาย การเงิน การค้า งานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ระบบการจัดการสารสนเทศ (information management systems) อาจแยกย่อยตามประเภทและกิจกรรมของสารสนเทศ เช่น ระบบการจัดการเอกสาร ระบบการจัดการระเบียนบันทึก ระบบการจัดการเนื้อหาบนเว็บ ระบบการจัดการคลังสื่อดิจิทัล ระบบการจัดการสื่อการเรียนการสอน ระบบการจัดการห้องสมุด เป็นต้น การจัดการสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ประการคือ 1. มนุษย์ (people) 2. กระบวนการ (process) 3. เทคโนโลยี (technology) 4. เนื้อหา (content) ดังนั้น การจัดการสารสนเทศไม่ได้เกี่ยวข้องแค่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สถาปัตยกรรมโครงสร้างของสารสนเทศ เมทาดาทา และคุณภาพของเนื้อหาด้วย (Robertson, 2005)
สำหรับกรอบแนวความคิดของกลยุทธ์สารสนเทศสำหรับองค์การหรือหน่วยงานภาคธุรกิจนั้น Earl (2000, p.21) ได้เสนอกรอบแนวความคิดแบบ 5 จุดเชื่อมโยงกัน (five-point information strategy framework) ซึ่งประกอบด้วย
- What? อะไรคือกลยุทธ์ของระบบสารสนเทศที่จะใช้ในการพัฒนาองค์การ (IS strategy)
- How? องค์การจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร (IT strategy)
- Where? การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศขององค์การ จะต้องมีทิศทางที่จะดำเนินไปและมีเป้าหมายที่แน่นอน (IR strategy)
- Who? ใครเป็นผู้มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศขององค์การ (IM strategy) และ
- Why? ทำไมกลยุทธ์สารสนเทศจึงมีความสำคัญต่อกลยุทธ์โดยรวมขององค์การ (Organization strategy)
Davenport (2000) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศขององค์กรโดยทั่วไปว่า องค์กรส่วนใหญ่มักใช้เงินงบประมาณลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือในการจัดเก็บและส่งผ่านสารสนเทศเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ มนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ต้องการใช้สารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีค่าและมีความหมาย ดังนั้น เมื่อมี “เทคโนโลยี” แล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้จักบริหารจัดการ “สารสนเทศ” ให้มีประสิทธิภาพ และควรจะมุ่งเน้นไปที่ “I” (information) มากกว่า “T” (technology)
การจัดการข้อมูล (data management) เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ การจัดการสารสนเทศ (information management) จะคำนึงถึงองค์ประกอบด้านมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย และเมื่อบุคลากรภายในองค์กรมีความรู้สะสมจากประสบการณ์ของงานที่ทำ จะกลายเป็น knowledge workers ที่ไม่เพียงแค่ใช้ความรู้ในการทำงานในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่จะสามารถสร้างแนวความคิดใหม่ๆ หรือสร้าง knowhow ให้แก่องค์กรได้ด้วย เกิดเป็นกระบวนการบริหารจัดการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า การจัดการความรู้ (knowledge management) ทำให้องค์กรเกิดทุนทางปัญญา (intellectual capital) เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน การจัดการความรู้จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดเก็บบันทึกเป็นคลังความรู้ หมุนเวียนนำกลับไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างบุคลากร เรียกว่าเป็น “information about knowledge” หรือสร้างเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert systems) เพื่อเสริมสมรรถนะให้แก่บุคลากร (Davenport, 2002) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันคือ เรื่องของความใส่ใจ หรือ attention economy เพราะสารสนเทศมีปริมาณมากมายมหาศาล และมีลักษณะกระจายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์มากขึ้น ผู้ใช้สารสนเทศมักให้ความสนใจในระดับต่ำ เลือกเฉพาะสิ่งที่จะสนใจ หรือใช้เวลาที่สั้นมากในการให้ความสนใจ ดังนั้น รูปแบบการนำเสนอ สื่อที่ใช้ในการนำเสนอ เนื้อหา และกลุ่มเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง เพราะหัวใจหลักของสารสนเทศและความรู้ไม่ได้อยู่ที่ระบบจัดเก็บหรือคลังความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปใช้ประโยชน์เท่านั้น (Davenport, 2002)
อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้ (knowledge management) ของแต่ละองค์กร อาจมีความแตกต่างกันได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ ขึ้นกับบริบทและการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ Despres และ Chauvel (2000, p.175) ได้เสนอแนวคิดเรื่องแผนที่การจัดการความรู้ เพื่อจำแนกลักษณะการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กร โดยพิจารณาจากมุมมองหรือมิติต่างๆ พร้อมกันทั้ง 4 มิติ คือ
- ขั้นตอนหรือกระบวนการของ knowledge process พิจารณาว่าอยู่ในขั้นตอนใด ได้แก่ ขั้นตอนการร่างแผน (scan map) การสร้าง ได้มา และครอบครอง (capture/create) การจัดเก็บ (package store) การประยุกต์ใช้และแลกเปลี่ยน (share/apply) การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความรู้ (transform/innovate)
- ชนิดของความรู้ พิจารณาว่าเป็นความรู้ชนิดใด ความรู้ชัดแจ้ง (explicit) หรือความรู้ฝังลึก (tacit)
- ระดับของความรู้ ได้แก่ ความรู้ส่วนบุคคล ความรู้ของกลุ่ม ความรู้ขององค์การ
- บริบท ความรู้จะมีความหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์การ
จะเห็นได้ว่า ทั้งการจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน อาจมีความแตกต่างกันบ้างในเนื้อหา การจัดการสารสนเทศจะเน้นไปที่สารสนเทศหรือความรู้ชัดแจ้ง (explicit) เช่น เอกสาร ระเบียนบันทึก เนื้อหาบนเว็บ ฐานข้อมูล สื่อดิจิทัล สื่อการเรียนการสอน ฯลฯ ส่วนการจัดการความรู้ จะเน้นความรู้ฝังลึก (tacit) ซึ่งเป็นความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากประสบการณ์ในตัวมนุษย์ และมีความซับซ้อนมากกว่า ทั้งการจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ ต่างอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้สารสนเทศ สร้างทุนทางปัญญาให้แก่องค์กร และพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลรอบ ๆ ตัวเรามีจำนวนมาก ก่อนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ (สานิตย์ กายาผาด, 2542, หน้า 94)
1 การประมวลผลออนไลน์ (Online Processing) เป็นเทคนิคการประมวลผลแบบสุ่ม จะประมวลผลตามเวลาที่เกิด การประมวลผลออนไลน์นี้จัดว่าเป็นการประมวลผลแบบ Real-Time Processing หมายความว่าจะทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องรอรวบรวมข้อมูล รายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที การประมวลผลแบบ Real-Time นี้ จะมีเทอร์มินัลต่อเข้ากับ CPU โดยตรง ข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ระบบลักษณะนี้เรียกว่า Online System เช่น การฝาก-ถอนเงินของธนาคารด้วย ATM |
2 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนทำการประมวลผล การประมวลผลจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดอาจทำทุกวันหรือทุกสิ้นเดือน ผู้ใช้ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ทันทีและไม่สามารถโต้ตอบกับระบบได้ แต่การประมวลผลแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น ข้อมูลจะเป็นแบบ Transaction file ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลนี้เรียกว่า Off-line System เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคาร การคิดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น |
วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลรอบ ๆ ตัวเรามีจำนวนมาก ก่อนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ (สานิตย์ กายาผาด, 2542, หน้า 94)
1 การประมวลผลออนไลน์ (Online Processing) เป็นเทคนิคการประมวลผลแบบสุ่ม จะประมวลผลตามเวลาที่เกิด การประมวลผลออนไลน์นี้จัดว่าเป็นการประมวลผลแบบ Real-Time Processing หมายความว่าจะทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องรอรวบรวมข้อมูล รายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที การประมวลผลแบบ Real-Time นี้ จะมีเทอร์มินัลต่อเข้ากับ CPU โดยตรง ข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ระบบลักษณะนี้เรียกว่า Online System เช่น การฝาก-ถอนเงินของธนาคารด้วย ATM |
2 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนทำการประมวลผล การประมวลผลจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดอาจทำทุกวันหรือทุกสิ้นเดือน ผู้ใช้ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ทันทีและไม่สามารถโต้ตอบกับระบบได้ แต่การประมวลผลแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น ข้อมูลจะเป็นแบบ Transaction file ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลนี้เรียกว่า Off-line System เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคาร การคิดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น |
วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลรอบ ๆ ตัวเรามีจำนวนมาก ก่อนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ (สานิตย์ กายาผาด, 2542, หน้า 94)
1 การประมวลผลออนไลน์ (Online Processing) เป็นเทคนิคการประมวลผลแบบสุ่ม จะประมวลผลตามเวลาที่เกิด การประมวลผลออนไลน์นี้จัดว่าเป็นการประมวลผลแบบ Real-Time Processing หมายความว่าจะทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องรอรวบรวมข้อมูล รายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที การประมวลผลแบบ Real-Time นี้ จะมีเทอร์มินัลต่อเข้ากับ CPU โดยตรง ข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ระบบลักษณะนี้เรียกว่า Online System เช่น การฝาก-ถอนเงินของธนาคารด้วย ATM |
2 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนทำการประมวลผล การประมวลผลจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดอาจทำทุกวันหรือทุกสิ้นเดือน ผู้ใช้ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ทันทีและไม่สามารถโต้ตอบกับระบบได้ แต่การประมวลผลแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น ข้อมูลจะเป็นแบบ Transaction file ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลนี้เรียกว่า Off-line System เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคาร การคิดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น |
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว
ลักษณะที่ดีของสารสนเทศ
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง
ระบบสารสนเทศ
สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
1. สารสนเทศที่ทำประจำ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย เช่น การทำบัญชีงบดุลของบริษัทที่ต้องยื่นต่อทางราชการ และเพื่อใช้ในการเสียภาษี
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เช่น รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ
1. บุคลากร
2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4. ซอฟต์แวร์
5. ข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ
การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ "
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing) เช่น เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ งานที่มีปริมาณมากๆ ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผล แบ่งตามระยะเวลาออกได้เป็น 2 วิธี
1. การประมวลผลแบบแบทซ์ หรือแบบกลุ่ม (Batch Processing)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะประมวลผลได้ เช่น การคิดเกรด ต้องเก็บรวบรวมคะแนนตั้งแต่ต้นเทอม จนถึงปลายเทอม แล้วจึงทำการรวบรวมประมวลผลได้เป็นเกรดตอนปลายเทอม
2. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processing)
เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด ไม่ต้องรอระยะเวลา เช่น การถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม ไม่ต้องรอนาน เครื่องจะทำการจ่ายเงินออกมาทันที
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ ระดับต่าง ๆ เช่น
พนักงานขาย ใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า จัดว่าเป็นสารสนเทศของพนักงานขาย เพื่อทราบถึงยอดการสั่งซื้อของพนักงานแต่ละคน
ผู้จัดการฝ่ายขาย รายงานจากพนักขายเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้า หรือปริมาณยอดขายของพนักงานทั้งหมดเป็นสารสนเทศของผู้จัดการฝ่ายขาย
พนักงานบัญชี ข้อมูลของพนักงานบัญชีคือใบสั่งซื้อ เมื่อมีการจำหน่ายสินค้าและมีใบส่งของเพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า เพื่อนำมาลงบัญชีต่อไปนั้น จะได้บัญชีประเภทต่าง ๆ เช่น บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสด เป็นต้น เราเรียกบัญชีเหล่านั้นเป็นสารสนเทศของพนักงานบัญชี
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลภายในองค์การ ประกอบด้วยบุคลากรขององค์การ การปฏิบัติงานภายในของหน่วยงานต่างๆ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ภายในองค์การ เช่น การวางแผนการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของการทำงาน การได้มาของข้อมูลอาจจะเป็นทางการหรือไม่ทางการก็ได้ เช่น การสังเกต การพูดคุย เป็นต้น
แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งขัน ผู้บริโภค บริษัทตัวแทนขายสินค้า เอกสารต่างๆหรือสิ่งตีพิมพ์ หรือองค์การของรัฐ เป็นต้น ข้อมูลอาจจะเป็นรายได้ประชาชาติ สถิติการบริโภคสินค้าแต่ละชนิด อัตราการเจริญเติบโตของประชากร
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing Systems)
• เป็นระบบที่ต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับงานประจำที่ต้องทำในองค์กร เช่น การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
• ลักษณะการทำงานต้องเป็นงานที่ปฏิบัติทุกวันสำหรับองค์กรต่างๆทางธุรกิจ
งานที่ทำมีลักษณะดังนี้ คือ
– เป็นงานที่มีจำนวนปฏิบัติงาน(Transactions) จำนวนมาก
– มีลักษณะการปฏิบัติงาน(Transactions) ที่เหมือนกัน
– มีขั้นตอนการทำงานที่เข้าใจง่ายและอธิบายรายละเอียดได้
– เป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในองค์กร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems)
๏ เป็นระบบที่ผู้บริหารระดับกลางต้องการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการสารสนเทศ
โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งอนาคต นอกจากนี้ระบบ MIS จะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์
เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องและต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยในการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
๏ ลักษณะของระบบ MIS ที่ดี สามารถสรุปได้ ดังนี้
• ระบบ MIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
• ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ
ในองค์กร
• ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็น
โครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
• ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป
ขององค์กร
• ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคล
เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
1. สารสนเทศที่ทำประจำ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย เช่น การทำบัญชีงบดุลของบริษัทที่ต้องยื่นต่อทางราชการ และเพื่อใช้ในการเสียภาษี
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เช่น รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ
1. บุคลากร
2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4. ซอฟต์แวร์
5. ข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ
การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ "
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing) เช่น เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ งานที่มีปริมาณมากๆ ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผล แบ่งตามระยะเวลาออกได้เป็น 2 วิธี
1. การประมวลผลแบบแบทซ์ หรือแบบกลุ่ม (Batch Processing)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะประมวลผลได้ เช่น การคิดเกรด ต้องเก็บรวบรวมคะแนนตั้งแต่ต้นเทอม จนถึงปลายเทอม แล้วจึงทำการรวบรวมประมวลผลได้เป็นเกรดตอนปลายเทอม
2. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processing)
เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด ไม่ต้องรอระยะเวลา เช่น การถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม ไม่ต้องรอนาน เครื่องจะทำการจ่ายเงินออกมาทันที
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ ระดับต่าง ๆ เช่น
พนักงานขาย ใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า จัดว่าเป็นสารสนเทศของพนักงานขาย เพื่อทราบถึงยอดการสั่งซื้อของพนักงานแต่ละคน
ผู้จัดการฝ่ายขาย รายงานจากพนักขายเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้า หรือปริมาณยอดขายของพนักงานทั้งหมดเป็นสารสนเทศของผู้จัดการฝ่ายขาย
พนักงานบัญชี ข้อมูลของพนักงานบัญชีคือใบสั่งซื้อ เมื่อมีการจำหน่ายสินค้าและมีใบส่งของเพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า เพื่อนำมาลงบัญชีต่อไปนั้น จะได้บัญชีประเภทต่าง ๆ เช่น บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสด เป็นต้น เราเรียกบัญชีเหล่านั้นเป็นสารสนเทศของพนักงานบัญชี
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลภายในองค์การ ประกอบด้วยบุคลากรขององค์การ การปฏิบัติงานภายในของหน่วยงานต่างๆ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ภายในองค์การ เช่น การวางแผนการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของการทำงาน การได้มาของข้อมูลอาจจะเป็นทางการหรือไม่ทางการก็ได้ เช่น การสังเกต การพูดคุย เป็นต้น
แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งขัน ผู้บริโภค บริษัทตัวแทนขายสินค้า เอกสารต่างๆหรือสิ่งตีพิมพ์ หรือองค์การของรัฐ เป็นต้น ข้อมูลอาจจะเป็นรายได้ประชาชาติ สถิติการบริโภคสินค้าแต่ละชนิด อัตราการเจริญเติบโตของประชากร
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing Systems)
• เป็นระบบที่ต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับงานประจำที่ต้องทำในองค์กร เช่น การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
• ลักษณะการทำงานต้องเป็นงานที่ปฏิบัติทุกวันสำหรับองค์กรต่างๆทางธุรกิจ
งานที่ทำมีลักษณะดังนี้ คือ
– เป็นงานที่มีจำนวนปฏิบัติงาน(Transactions) จำนวนมาก
– มีลักษณะการปฏิบัติงาน(Transactions) ที่เหมือนกัน
– มีขั้นตอนการทำงานที่เข้าใจง่ายและอธิบายรายละเอียดได้
– เป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในองค์กร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems)
๏ เป็นระบบที่ผู้บริหารระดับกลางต้องการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการสารสนเทศ
โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งอนาคต นอกจากนี้ระบบ MIS จะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์
เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องและต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยในการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
๏ ลักษณะของระบบ MIS ที่ดี สามารถสรุปได้ ดังนี้
• ระบบ MIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
• ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ
ในองค์กร
• ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็น
โครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
• ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป
ขององค์กร
• ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคล
เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการใช้งานและมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- การสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบันทึกคำสั่งของผู้บริหาร จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ และข่าวสารต่างๆ
- การจัดพิมพ์เอกสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพในการปฏิบัติงาน
- ใช้ควบคุมการทำงานของระบบโทรศัพท์ เช่น การรับข้อความจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามา
ในสำนักงานแล้วบันทึกเสียงไว้
- ออกแบบระบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
- การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- การจัดระบบเอกสารอีเล็กทรอนิกส์
- การกำหนดการนัดหมายของผู้บริหารและการกำหนดเวลาต่าง ๆ
- การคำนวณพื้นฐานของสำนักงาน
- การจัดทำฐานข้อมูลของสำนักงาน
- เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
- และอื่นๆ
จะเห็นว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสำนักงานอย่างเต็มที่นั้น
ทำให้เกิดแนวความคิดของสำนักงานอัตโนมัติ การใช้ไอทีโดยทั่วไปจะเน้นการนำมาประยุกต์ใช้
ด้านเอกสาร การประมวลผลข้อมูล และ สารสนเทศ การสื่อสาร การประชุม และการทำงานร่วมกัน
ภายในขององค์กรและการสื่อสารภายนอกองค์กร
ดังนั้นสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นการรวมเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยพนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงาน เทคโนโลยีเหล่านี้รวมถึง Voice mail, e-mail, scheduling software , Desktop publishing , Word processing , และ Fax เทคโนโลยีของสำนักงานอัตโนมัติจะใช้กับบุคลากรทุกระดับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้จะเป็นระบบ LAN หรือใช้ระบบ Intranet หรือ Extranet
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร โดยจัดทำรายงาน
เพื่อช่วยตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ด้วยการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล เพื่อให้ได้
ทางเลือกในการตัดสินใจได้หลายๆทาง และให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกเอง
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการใช้งานและมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- การสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบันทึกคำสั่งของผู้บริหาร จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ และข่าวสารต่างๆ
- การจัดพิมพ์เอกสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพในการปฏิบัติงาน
- ใช้ควบคุมการทำงานของระบบโทรศัพท์ เช่น การรับข้อความจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามา
ในสำนักงานแล้วบันทึกเสียงไว้
- ออกแบบระบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
- การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- การจัดระบบเอกสารอีเล็กทรอนิกส์
- การกำหนดการนัดหมายของผู้บริหารและการกำหนดเวลาต่าง ๆ
- การคำนวณพื้นฐานของสำนักงาน
- การจัดทำฐานข้อมูลของสำนักงาน
- เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
- และอื่นๆ
จะเห็นว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสำนักงานอย่างเต็มที่นั้น
ทำให้เกิดแนวความคิดของสำนักงานอัตโนมัติ การใช้ไอทีโดยทั่วไปจะเน้นการนำมาประยุกต์ใช้
ด้านเอกสาร การประมวลผลข้อมูล และ สารสนเทศ การสื่อสาร การประชุม และการทำงานร่วมกัน
ภายในขององค์กรและการสื่อสารภายนอกองค์กร
ดังนั้นสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นการรวมเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยพนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงาน เทคโนโลยีเหล่านี้รวมถึง Voice mail, e-mail, scheduling software , Desktop publishing , Word processing , และ Fax เทคโนโลยีของสำนักงานอัตโนมัติจะใช้กับบุคลากรทุกระดับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้จะเป็นระบบ LAN หรือใช้ระบบ Intranet หรือ Extranet
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร โดยจัดทำรายงาน
เพื่อช่วยตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ด้วยการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล เพื่อให้ได้
ทางเลือกในการตัดสินใจได้หลายๆทาง และให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกเอง
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ
1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า
2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อรมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. กลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory)
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ.
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ.
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้
1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร
5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)
จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัด, การทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)